การสอบเทียบไม้บรรทัดเหล็ก (STEEL RULER)
การสอบเทียบไม้บรรทัดเหล็ก (STEEL RULER)
ทำความรู้จักไม้บรรทัดเหล็ก ให้มากขึ้นด้วยบทความนี้
บรรทัดเหล็กเป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานในการ วัดขนาดความยาวของชิ้นงาน ซึ่งไม่ต้องการความละเอียดมากนัก บรรทัดเหล็กถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถให้ค่าขนาดชิ้นงานได้ทั้งระบบเมตริกและระบบอังกฤษ คือ หน่วยมิลลิเมตร และหน่วยนิ้วนั่นเอง สามารถอ่านค่าวัดขนาดชิ้นงานได้โดยตรงจากตัวบรรทัดเหล็กส่วนใหญ่การใช้งานของบรรทัดเหล็ก คือ ใช้เป็นเครื่องมือวัดขนาดชิ้นงานและใช้เป็นเครื่องมือในการขีดร่างแบบลงชิ้นงาน
บรรทัดเหล็ก (Steel Ruler)
บรรทัดเหล็ก เป็นเครื่องมือวัดความยาวพื้นฐานที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในการวัดและตรวจสอบขนาดเนื่องจากการใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว สามารถอ่านค่าวัดได้ทันทีจากขีดมาตราวัดบนบรรทัดเหล็กซึ่งมีความคล้ายคลึงกับไม้บรรทัดพลาสติกที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี อาจมีความแตกต่างกันที่ความละเอียดของขีดมาตราที่ละเอียดขึ้นและวัสดุที่ใช้ทำบรรทัดเหล็ก
บรรทัดเหล็ก มีขนาดความยาวให้เลือกใช้หลายขนาด ในระบบเมตริก เช่น 150 มม. 300 มม. 450 มม. และ 600 มม. หรือในระบบอังกฤษ เช่น 6 นิ้ว 12 นิ้ว 18 นิ้ว 24 นิ้ว 36 นิ้ว ความกว้างทั่วไปจะประมาณ 1 นิ้ว มีขีดมาตราหรือขีดสเกลเป็นสองส่วน ด้านบนจะเป็นขีด มาตราระบบเมตริก ด้านล ่างจะเป็นขีดมาตราระบบอังกฤษ สำหรับขีดมาตราระบบเมตริกจะเริ่มต้นขีดมาตรา หรือขีดสเกลจากด้านซ้ายมือไปขวามือ ในช่วง 0-100 มิลลิเมตร จะมีค่าความละเอียดของสเกลเท่ากับ 0.05 มิลลิเมตร และต่อจากนั้นไปจนสุดขนาดของบรรทัดเหล็กจะมีความละเอียดของสเกลเท่ากับ 1 มิลลิเมตร สำหรับขีดมาตราระบบอังกฤษที่อยู่ด้านล่างของบรรทัดเหล็กก็จะเริ่มต้นขีดมาตราหรือขีดสเกลจากด้านซ้ายมือไปขวามือเหมือนกัน ในช่วง 0–1 นิ้ว จะมีค่าความละเอียดของสเกลเท่ากับ 1/32 นิ้ว และในช่วง 3-4 นิ้ว จะมีค่าความละเอียดของสเกลเท่ากับ 1/64 นิ้ว และจากระยะ 4 นิ้ว ไปจนสุดความยาวของบรรทัดเหล็กจะมีความละเอียดของสเกลเท่ากับ 1/16 นิ้ว ส่วนที่ด้านปลายบรรทัดเหล็กจะเจาะรูไว้ใช้แขวนเก็บบรรทัดเหล็กหลังเลิกใช้งานอีกด้วย
ทำไมถึงต้องสอบเทียบไม้บรรทัดเหล็ก
แน่นอนว่าเราจำเป็นที่จะต้องใช้ไม้บรรทัดในการวัดมิติของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความกว้าง ความยาว ของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องสอบเทียบเครื่องมือไม้บรรทัด เพื่อจะเป็นการยืนยันได้ว่าไม้บรรทัดที่เราใช้งานนั้น สเกลที่แสดงอยู่ยังมีค่าที่ตรงอยู่ ไม่ผิดเพี้ยนไป เพราะหากเราวัดผิดไปเพียงเล็กน้อย อาจทำให้ชิ้นงานหรือสิ่งที่เรานำไปวัดนั้นผิดไป เราอาจจะเสียงานชิ้นนั้นเลยก็ได้ เพราะค่าผิดจากไม้บรรทัดที่เราใช้ จะเห็นว่าราคาไม้บรรทัดเหล็กในท้องตลาดมีราคาถูกมาก ในหลายครั้งค่าสอบเทียบยังมีราคาสูงกว่าซื้อใหม่ แต่ทำไมถึงยังมีลูกค้าหรือผู้ใช้งานส่งเครื่องมือไม้บรรทัดเหล็กมาสอบเทียบ ก็เพราะต้องการให้ห้องปฏิบัติการสอบเทียบยืนยันค่าว่าไม้บรรทัดของเขามีสเกลที่แสดงค่าที่เที่ยงตรงหรือไม่ และต้องการมีใบรับรองการสอบเทียบเพื่อรับรองเครื่องมือดังกล่าว ว่าได้มาตรฐาน และสามารถใช้วัดชิ้นงานในอุตสาหกรรมของผู้ใช้งานได้
เมื่อพูดถึงค่าความถูกต้องของไม้บรรทัดเหล็ก เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าความถูกต้องของสเกลไม้บรรทัดเหล็กนั้นพิจารณาอย่างไรอีกทั้งเกรดของไม้บรรทัดเหล็กใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินค่าความถูกต้องของไม้บรรทักเหล็กตามมาตรฐาน JIS B 7516