เครื่องวัดแสงเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณความเข้มข้นของแสง หน่วยของการวัดแสง มีหน่วยเป็นลักซ์ (Lux) หรือ ฟุตแคนเดิล (Foot candle) ลักซ์ คือความเข้มของแสงทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวขนาดหนึ่งตารางเมตร จากแหล่งกำเนิดแสงระยะหนึ่งฟุต เครื่องวัดแสงจะวัดปริมาณของแสงโดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณแสง (Photodetector) ซึ่งจะถูกวางตั้งฉากกับแหล่งกำเนิดแสงเพื่อการรับแสงได้ดีที่สุด ค่าที่ได้จากอุปกรณ์รับสัญญาณแสงจะถูกแสดงแก่ผู้ใช้งานผ่านทางเครื่องมือวัดแบบอนาล็อก หรือแบบดิจิตอล
1. เซ็นเซอร์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเครื่องวัดแสง เซ็นเซอร์คือโฟโตอิเล็กทริกเซลล์ที่แปลงคลื่นแสงเป็นประจุไฟฟ้า เซ็นเซอร์รับแสงจะถูกติดตั้งอยู่ภายในโดม
พลาสติกสีขาวที่ทำหน้าที่รับแสงจากหลายทิศทาง
2. จอแสดงผล เครื่องวัดแสงจะต้องมีจอแสดงผลเพื่อแสดงค่าที่ได้จากการวัด เครื่องวัดแสงแบบอะนาล็อกใช้เข็มส่วนแบบดิจิตอลใช้แอลซีดีแสดงผลการวัด
3. ส่วนประมวลผล ทำหน้าที่รับข้อมูลจากเซ็นเซอร์รับแสงแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลและส่งต่อให้กับจอแสดงผลหรือเอาท์พุทอื่นๆ
4. ฝาครอบ โดยทั่วไปทำจากพลาสติกหรือยางสีดำ เพื่อปกป้องเซ็นเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่บอบบางและแตกหักได้ง่าย
วิธีการใช้งาน เครื่องวัดแสง โดยทั่วไป
1. กดปุ่มเปิดเครื่อง (Power On) ในขณะที่ฝาครอบเซ็นเซอร์ยังปิดอยู่
2. ดูค่า Lux ในขณะที่ปิดฝาครอบเซ็นเซอร์ ค่า Lux ต้องเป็น "0" หรือใกล้เคียง เช่น 0.01 Lux
3. ถ้าค่าที่ได้จากข้อ 2 ไม่เป็น “0” ให้กดปุ่ม "ZERO" ค้างไว้ เพื่อเป็นการตั้งค่า "0"
4. เปิดฝาครอบตัว Sensor ออก
5. หัน Sensor ไปยังตำแหน่งแสงที่ต้องการวัด โดยหัน Sensor ตั้งฉากกับตัวกำเนิดแสง
6. เลือกช่วงการวัดให้เหมาะสม
7. สามารถปรับค่าหน่วยการวัด โดยกดปุ่มเปลี่ยนหน่วย Lux หรือ CD ได้ตามต้องการ
8. สามารถบันทึกค่าสูงสุดในการวัดได้ โดยกดปุ่มบันทึกค่า
9.หลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Off หรือปล่อยให้ปิดเองอัตโนมัติ และปิดฝาครอบ Sensor
การสอบเทียบเครื่องมือวัดแสงนั้นสำคัญอย่างไร
เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดแสงซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสายตาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการความแม่นยำสูงมาก หากเครื่องมือมีการอ่านค่าผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนนั้น หมายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการ สูญเสียดวงตา เพราะหากการดูแลรักษาเครื่องมือหรือใช้งานเครื่องมือผิดวิธี อาจทำให้เครื่องมือมีการอ่านค่าคลาดเคลื่อน (error) ไปจากเดิมได้ เพราะฉะนั้นการสอบเทียบเครื่องมือวัดจึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง
06 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 977 ครั้ง