หลักเกณฑ์การตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration Interval)
เมื่อใดที่ต้องสอบเทียบ
มักมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่าเครื่องมือวัดใดที่ต้องดำเนินการสอบเทียบ และจะสอบเทียบบ่อยเพียงใดพอจะกล่าวโดยรวมได้ว่า การสอบเทียบเครื่องมือวัดจะต้องทำเมื่อใดก็ตามที่ผลการวัดของเครื่องมือวัดนั้นกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลดังนั้น เครื่องมือวัดใดที่ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องสอบเทียบ การกำหนดว่าเครื่องมือวัดใดต้องสอบเทียบบ้างอาจจะใช้ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ ให้ตั้งคำถามว่าหากเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจอ่านค่าผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับผลกระทบที่เสียหายต่อคุณภาพของข้อมูลหรือไม่? หากพบว่าการสำรวจขึ้นอยู่กับค่าการอ่านของเครื่องมือวัดเป็นสำคัญก็แสดงว่าเครื่องวัดนั้น ต้องดำเนินการสอบเทียบ และอีกกรณีหนึ่งก็คือ เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่มีเหตุผลที่จำเป็นต้องมั่นใจในค่าของเครื่องมือวัดก็ต้องสอบเทียบตัวอย่างเช่น เรื่องของความปลอดภัย
ในระบบการจัดการเครื่องมือวัด สิ่งที่สำคัญนอกจากการตั้งค่าเกณฑ์การยอมรับของเครื่องมือในการสอบเทียบเครื่องมือวัดแล้ว การตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบ (Calibration Interval) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การตั้งค่าเกณฑ์การยอมรับของเครื่องมืออาจอ้างอิงได้จากหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่นอ้างอิงได้จากเอกสารมาตรฐานต่างๆ หรืออ้างอิงได้จาก Specification จากคู่มือผู้ผลิตเอง หรืออ้างอิงจากค่าสถิติแนวโน้วของผลการสอบเทียบเมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา แต่ในทางกลับกันการตั้งระยะเวลาการสอบเทียบเครื่องมือเราจะมีเอกสารอ้างอิงอะไรได้บ้าง ถ้าคู่มือของเครื่องมือวัดไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน หรือในกรณีที่รับการตรวจจากหน่วยงานภายนอก อาจมีคำถามที่ว่า เราเลือกใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบเครื่องมือวัด
กำหนดการตั้งตัวเลือกของการกำหนดช่วงระยะเวลา การสอบเทียบเครื่องมือ (Initial choice of calibration intervals)
ในบทความนี้จะอ้างอิงมาตรฐาน ILAC G-24 (Guidelines for the determination of calibration intervals of measuring instruments) ซึ่งกำหนดการตั้งตัวเลือกเริ่มต้นของการกำหนดช่วงระยะเวลาการสอบเทียบไว้ 8 ข้อดังนี้
11 เม.ย. 2566
ผู้ชม 1365 ครั้ง